เคล็ดลับในการวางแผนการเงิน สำหรับเพื่อนๆ นักศึกษา
ผ่านตรุษจีนกันมาหมาดๆ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเอาเงินอั่งเปาที่ได้จากญาติผู้ใหญ่ไปใช้กันแล้ว แต่อย่าลืมนะคะว่า ถ้าเราเอาแต่ใช้ ไม่เก็บออมหรือเอาไปลงทุน วันนึงเงินก็จะหมดไป
เพื่ออนาคตที่มั่งคั่งเราขอแนะนำให้เพื่อนๆ แบ่งเงินที่มีออกเป็น 2 ส่วน
- ไว้ใช้จ่าย
แน่นอนว่า เราต้องกินต้องใช้ และบางที “ของมันต้องมี” ก็ต้องช้อปกันบ้าง จริงๆ เพื่อนๆ ก็สามารถใช้เงินส่วนนี้ได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไอเท็มไหนฟุ่มเฟือยก็ต้องตัดใจบ้าง - เก็บออม
ส่วนนี้ห้ามใช้!! หรือถ้าจะใช้ ต้องยามจำเป็นหรือฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้น
แน่นอนว่า เงินออมของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ “รายรับ-รายจ่าย” และ “วินัย” หากเพื่อนๆ อยากเริ่มวางแผนการเงินลองตาม 4 ขั้นตอนง่ายๆ นี้ ดูสิ…
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการวางแผนการเงิน สำหรับเพื่อนๆ นักศึกษา
- บริหารรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินเหลือเพื่อเก็บออมแนะนำว่าให้ “จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย” จะทำให้เพื่อนๆ รู้ว่า วันๆ นึง เราใช้จ่ายไปเท่าไร ใช้ไปกับเรื่องอะไร เราจะได้รู้ว่าควรลดค่าใช้จ่ายตรงไหน เมื่อมีเงินเหลือเพื่อออมแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไป
- กำหนดเป้าหมายการออม เป้าหมายนั้นสำคัญมาก เพราะเมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราจะมีวินัยในตนเองมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เราสามารถวางแผนทางการเงินที่ท้าทายและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย
- วางแผนการออมและจัดการเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เช่น เรามีเป้าหมายจะออมเงิน 1,000 บาททุกเดือน เราจะรู้ว่า เราควรใช้เงินไปกับอะไรเท่าไร เก็บเท่าไร หากไม่เป็นไปตามเป้าจะทำอย่างไร ทำงานพิเศษเพิ่ม หรือ ลดค่าใช้จ่ายบางส่วนดี หาวิธีแก้ไขเพื่อให้การเก็บออมของเรากำลังดี ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป
- ปฏิบัติตามแผนอย่างมีวินัยและทบทวนแผนสม่ำเสมอ เท่าที่ดูมา ข้อนี้ดูยากที่สุด แต่หากเราตั้งใจ ก็ท่องวนไปว่า “ฉันทำได้! ฉันทำได้!!” ถ้าอยากประสบความสำเร็จ เพื่อนๆ ต้องทำตามแผนที่วางไว้และคอยตรวจสอบให้แน่ใจว่า เงินออมของเรานั้นเป็นไปตามแผนที่ตั้งใจไว้
เรามาพูดถึงการออมกันก่อน การออมเงินที่ธนาคารหรือการฝากเงินมีด้วยกันหลายแบบ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ (ฝาก-ถอนได้ตลอด) และเงินฝากประจำ (มีระยะเวลากำหนดแน่นอน เช่น 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น) ผู้ฝากจะได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.5-1.5% ต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมากๆ หากต้องการให้เงินออมของเราเติบโตเร็วกว่านี้ เราต้องหาทางลงทุนอื่นๆ มาเป็นตัวช่วย
ทางเลือกที่เราแนะนำ คือ “กองทุนรวม” ซึ่งเหมาะสมสำหรับเพื่อนๆ นักศึกษา ที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือโอกาสติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ เพราะกองทุนรวม…
มี “มืออาชีพ” คือ ผู้จัดการกองทุนที่มีข้อมูล ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ คอยดูแลการลงทุนให้
ใช้เงินลงทุนไม่มาก เริ่มต้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น
มีกองทุนให้เลือกสรรมากมายหลายประเภท ที่เหมาะกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของเรา
แม้ว่าการลงทุนจะช่วยให้เงินออมของเพื่อนๆ งอกเงยมากขึ้น แต่โอกาสสร้างผลกำไรก็จะมาพร้อมกับความเสี่ยง หรือความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน (High risk, high return) ตัวอย่างเช่น ปีนี้เราอาจจะลงทุนได้กำไร 5% ปีหน้าได้ 8% ปีถัดไปอาจขาดทุน -10% ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกลงทุนในอะไร ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือการเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง และเลือกลงทุนให้หลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง และรักษาระดับผลตอบแทนให้เพียงพอที่จะนำเราสู่เป้าหมายได้
มาเลือกกองทุนที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ของเรากันเถอะ!
- “กองทุน KFSPLUS” เหมาะสำหรับเพื่อนๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน หรืออยากเปลี่ยนเงินออมให้เป็นเงินลงทุน โดยไม่ต้องรับความเสี่ยงสูง
- “กองทุน KFTSTAR-A และ KFTSTAR-D” เหมาะกับเพื่อนๆ ที่เริ่มคุ้นเคยกับการลงทุน และสามารถรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น ลงทุนได้นานๆ มีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าแบบแรก
- “กองทุน KF-HUSINDX” กองทุนหุ้นอเมริกา
- “กองทุน KF-HJPINDX” กองทุนหุ้นญี่ปุ่น
- “กองทุน KF-GTECH” เหมาะสำหรับเพื่อนๆ ที่มองเห็นโอกาสการเติบโตของบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในยุค digital แบบนี้
คำเตือน: *KF-GTECH ไม่ใช่เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินจึงอาจมีความเสี่ยงสูงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- KF-GTECH ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการลงทุน
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
หากเพื่อนๆ คนไหนสนใจ สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา หรือ โทรเข้ามาปรึกษาพี่ๆ เจ้าหน้าที่ Krungsri Plan Your Money ได้ที่ โทร. 1572 กด 5