ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (ABAC Social Innovation in
Management and Business Analysis) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนามที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้
ทั่วประเทศตามหลักสถิติด้วยกระบวนการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling) โดยครั้งนี้ได้ทำ
การสำรวจเรื่อง “สำรวจภาวะหนี้สินระดับบุคคลและครัวเรือนกับประเด็นสำคัญทางการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัด
ของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์
บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ สตูล และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,102 ครัวเรือน ดำเนินโครงการวันที่ 7-18 กรกฎาคม 2552 งบ
ประมาณของโครงการนี้สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ผลสำรวจพบว่า คนไทยเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.5 มีหนี้สินส่วนตัว ในขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุไม่มีหนี้สิน โดยในกลุ่มคนที่มีหนี้สิน พบว่า
จำนวนหนี้ส่วนตัวของประชาชนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 304,842.32 บาท หรือกว่าสามแสนบาทต่อคน แต่มีจำนวนหนี้ส่วนตัวต่ำสุดอยู่ที่ 950 บาท และจำนวนหนี้
ส่วนตัวสูงสุดอยู่ที่ 9,500,000 บาท หรือเก้าล้านห้าแสนบาท ในการสำรวจครั้งนี้ และเมื่อจำแนกตามรายได้พบว่า ในทุกกลุ่มรายได้มีจำนวนหนี้สิน
มากกว่า 10 เท่าของรายได้ส่วนตัวที่ได้รับใน แต่ละเดือน โดยพบว่า ในกลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท มีหนี้สินส่วนตัวเฉลี่ย 123,130.10
บาท ในกลุ่มคนที่มีรายได้ระหว่าง 10,001 — 25,000 บาทต่อเดือนมีหนี้สินส่วนตัวเฉลี่ย 351,271.00 บาท ในกลุ่มคนที่มีรายได้ระหว่าง 25,001 —
50,000 บาท มีหนี้สินส่วนตัวเฉลี่ย 659,665.10 บาท และกลุ่มคนที่มีรายได้เกิน 50,000 บาทต่อเดือนมีหนี้สินส่วนตัวเฉลี่ย 919,993.30 หรือ
เกือบหนึ่งล้านบาท
เมื่อสำรวจหนี้สินครัวเรือน พบว่า จำนวนหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 514,313.72 บาท หรือกว่าห้าแสนบาทต่อครัวเรือน โดยมี
จำนวนหนี้ครัวเรือนต่ำสุดอยู่ที่ 12,000 บาท และจำนวนหนี้สินครัวเรือนสูงสุดอยู่ที่ 30,000,000 บาทหรือสามสินล้านบาท ในการสำรวจครั้งนี้ ผล
สำรวจยังพบด้วยว่า ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 ยังไม่คิดจะซื้อสินค้า ประเภท รถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ เครื่อง
ใช้ไฟฟ้าใหม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 30.6 ตั้งใจจะซื้อ โดย กลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไปจำนวนมากหรือร้อยละ 41.2 จะ
ซื้อบ้านหลังใหม่ ร้อยละ 39.2 จะซื้อรถยนต์คันใหม่ ร้อยละ 21.6 จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ ในขณะที่คนที่รายได้ไม่เกิน 10,000 บาทร้อยละ 21.1
จะซื้อมือถือใหม่ และ ร้อยละ 21.1 เช่นกันจะซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่
เมื่อสอบถามถึงบรรยากาศการเมืองโดยทั่วไปในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือ ร้อยละ 52.2
มองกันว่าบรรยากาศการเมืองค่อนข้างดีถึงดีขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 47.8 มองว่าค่อนข้างแย่ ถึงแย่ลงมาก
ส่วนประเด็นร้อนทางการเมืองที่มองเกี่ยวกับการลาออกของ ส.ส. และ ส.ว. ถ้า กกต. มีมติให้ขาดคุณสมบัติเรื่องถือครองหุ้น พบว่า
ร้อยละ 40.7 เห็นว่าควรลาออกทันที ในขณะที่ร้อยละ 59.3 เห็นว่าให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมขั้นสิ้นสุด จะวินิจฉัยตัดสิน นอกจากนี้ ที่น่า
พิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ ในขณะที่ร้อยละ 37.3 เห็นว่ายังไม่ถึงเวลา และเมื่อ
จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ยิ่งการศึกษาสูงขึ้นมีจำนวนคนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ลดน้อยลง คือ กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่า
ปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 กลุ่มคนปริญญาตรีร้อยละ 58.9 และกลุ่มคนสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 43.7 เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไข
รัฐธรรมนูญในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งในทุกภาค ไม่เว้นภาคใต้ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ร้อยละ 67.0 กรุงเทพมหานครร้อยละ 64.5 ภาคเหนือร้อยละ 64.1 ภาคกลางร้อยละ 57.9 และภาคใต้ ร้อยละ 55.9 เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้อง
เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้
ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจเกี่ยวกับภาวะหนี้สินส่วนตัวและหนี้สินครัวเรือนของประชาชนคนไทยอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง
เพราะมีหนี้สินส่วนตัวและหนี้สินครัวเรือนล้นพ้นตัวเกินกว่ารายได้ที่ได้รับแต่ละเดือนหลายเท่า จึงส่งผลกระทบตามมาต่อปัญหาสังคม การเมืองและ
เศรษฐกิจหลายอย่าง เช่น ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การทุจริตคอรัปชั่น ความไม่สนใจเรื่องความชอบธรรมหรือคุณธรรมของสังคม
การซื้อสิทธิขายเสียง และการก่อหนี้สินไม่มีที่สิ้นสุดในหมู่ประชาชน นอกจากนี้ ประเด็นร้อนทางการเมืองที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้คือ ประชาชนส่วน
ใหญ่มองว่า ส.ส. และ ส.ว. ควรรอการพิจารณาวินิจฉัยของกระบวนการยุติธรรมให้สิ้นสุดมากกว่าการลาออกเพราะ กกต. ชี้ความผิดเรื่องถือครอง
หุ้นตอนนี้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนใจเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญในตอนนี้ แตกต่างไปจากการสำรวจที่เคยค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 25.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุภาวะหนี้สินส่วนบุคคล
ลำดับที่ ภาวะหนี้สินส่วนบุคคล ค่าร้อยละ
1 มีหนี้สินส่วนตัว 54.5
2 ไม่มีหนี้สิน 45.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จำนวนหนี้สิ้นของตนเองในปัจจุบัน (เฉพาะกลุ่มคนที่มีหนี้สิน)
จำนวนหนี้ส่วนบุคคลต่ำสุด จำนวนหนี้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ย จำนวนหนี้ส่วนบุคคลสูงสุด
9,50 บาท 304,842.32 บาท 9,500,000.00 บาท
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนหนี้สิ้นของตนเองในปัจจุบัน จำแนกตามรายได้
ลำดับที่ จำนวนหนี้สิ้นของตนเองในปัจจุบัน —————————-รายได้ส่วนตัวต่อเดือน————————————
ไม่เกิน 10,000 บาท 10001-25,000 บาท 25,001-50,000 บาท มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป
จำนวนหนี้สินส่วนตัวโดยเฉลี่ยในปัจจุบัน 123,130.10 351,271.00 659,665.10 919,993.30
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนหนี้สินของทุกคนที่พักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันกับตน (รวมทั้งตนเอง)
นวนหนี้ครัวเรือนต่ำสุด จำนวนหนี้ครัวเรือนโดยเฉลี่ย จำนวนหนี้ครัวเรือนสูงสุด
12,000 บาท 514,313.72 บาท 30,000,000.00 บาท
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ตั้งใจจะซื้อสินค้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ สินค้าที่ตั้งใจจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะซื้อสินค้า ประเภท รถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ เป็นต้น 30.6
2 ไม่คิดจะซื้อ 69.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ตั้งใจจะซื้อสินค้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จำแนกตามรายได้
ลำดับที่ สินค้าที่ตั้งใจจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า —————————รายได้ส่วนตัวต่อเดือน————————————
ไม่เกิน 10,000 บาท 10001-25,000 บาท 25,001-50,000 บาท มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป
1 บ้านหลังใหม่ 21.4 21.1 22.2 41.2
2 รถยนต์คันใหม่ 20.3 25.4 23.8 39.2
3 เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ 21.7 22.0 15.9 21.6
4 โทรศัพท์มือถือ 21.1 15.8 12.7 19.6
5 รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) 21.1 9.1 11.1 9.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบรรยากาศทางการเมืองโดยทั่วไปในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง ต้นปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ บรรยากาศทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ค่อนข้างดี ถึง ดีขึ้นมาก 52.2
2 ค่อนข้างแย่ ถึงแย่ลงมาก 47.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลาออกของ ส.ส./ส.ว. ถ้าหากคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถือครองหุ้นที่รัฐธรรมนูญห้ามไว้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควรจะลาออกทันที 40.7
2 ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมขั้นสิ้นสุด จะวินิจฉัยตัดสิน 59.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ 62.7
2 ยังไม่ถึงเวลา 37.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1 ถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ 64.1 58.9 43.7
2 ยังไม่ถึงเวลา 35.9 41.1 56.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เลือกตั้งจำแนกตามภูมิภาค
ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กรุงเทพมหานคร
1. ถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ 64.1 57.9 67.0 55.9 64.5
2. ยังไม่ถึงเวลา 35.9 42.1 33.0 44.1 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
–เอแบคโพลล์–
1 Comment