นักศึกษาใช้บัตรเครดิตกันด้วยหรอ?
เดี๋ยวนี้ นักศึกษาหลายๆคนในยุคนี้เริ่มหันมาใช้บัตรเครดิตมากขึ้นเรื่อยๆ
จนเริ่มกลายเป็นเทรนที่มาอย่างช้าๆ เพื่อเข้าสู่ ยุค Digital หรือที่เราเรียกกันว่า นโยบาย Thailand 4.0
เพราะสะดวกสบาย สามารถเชื่อมโยงเข้ากับธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ ทั้งยังมีประโยชน์
ช่วยให้ไม่ต้องพกเงินสดทีละเยอะๆ และซื้อของแบบผ่อนไม่เสียดอกเบี้ยก็ได้
ทุกวันนี้ เราจะเริ่มเห็นได้ว่า…
เพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัย เริ่มเอาบัตรเครดิตมารูดใช้จ่ายสินค้า หรือ บริการต่างๆมากยิ่งขึ้น
เช่น
- การซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่าน Lazada
- เรียกแท๊กซี่ด้วย Grab (หรือ Uber)
- จองตั๋วเครื่องบินหรือจองโรงแรมด้วย Traveloka
โดยที่ บางคนอาจจะได้มาจาก บัตรเสริมของผู้ปกครอง หรือ บางคนก็สมัครได้ด้วยตนเอง
จำเอาไว้ว่า
“การเป็นนักศึกษา ไม่ได้ถูกจำกัดว่าห้ามใช้บัตรเครดิต แต่อย่างใด
แต่สำหรับคนที่ต้องการใช้ ก็จะต้องบริหารการใช้บัตรเครดิตให้ดีด้วยเช่นกัน”
ประโยชน์ของการใช้บัตรเครดิต
นอกจากนี้การที่นักศึกษาใช้บัตรเครดิต ยังได้รับสิทธิประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่น
ส่วนลดจากบัตรเครดิต การได้เงินคืน รวมทั้งการสะสมคะแนน
แถมยังเป็นการเริ่มสร้างประวัติทางการเงินในระบบ
ซึ่งเป็นประโยชน์กับการทำธุรกรรมกับธนาคารในอนาคต
เช่น การขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ และสินเชื่อเพื่อการทำธุรกิจ เป็นต้น
สำหรับนักศึกษาบางคนที่ทำธุรกิจของตนเอง บัตรเครดิตก็เป็นอะไรที่มีประโยชน์มาก
เพราะช่วยเพิ่มความคล่องตัว
การใช้บัตรเครดิต ดีหรือไม่?
ด้วยบัตรเครดิต เงินเสมือนจริงที่ใช้ง่าย ซึ่งผู้ใช้ควรมีวินัยทางการเงินที่ดี
เพราะนอกจากจะทำให้ง่ายต่อการทำธุรกรรมออนไลน์แล้ว ยังจะเป็นการฝึกการวางแผนใช้จ่าย
บริหารจัดการเงินอย่างฉลาดที่จะปูพื้นฐานทางการเงินให้เพื่อนๆ มีความมั่งคั่งทางการเงินในอนาคตนั่นเอง
อย่างไรก็ตามบัตรเครดิตก็ เหมือนเป็นดาบสองคม
หากใช้อย่างไม่ถูกวิธี หรือขาดวินัย ก็จะทำให้เกิดปัญหาด้านการเงินในภายหลัง
ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระวังกันด้วย
7 ข้อควรรู้ และ ควรระวัง เมื่อต้องการใช้บัตรเครดิต
สำหรับนักศีกษา ที่ยังไม่มีรายได้ที่แน่นอน
การใช้งานบัตรเครดิต อย่างฉลาดและมีวินัยทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญมาก
เพราะถึงแม้จะเป็นผู้มีรายได้ประจำก็ยังเห็นโดยทั่วไปว่ามีปัญหาหนี้บัตรเครดิต
ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าเราจะใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้ฉลาดและเกิดผลดีต่อตนเอง
- ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ต้องใช้จ่ายด้วยความระมัดระวัง ไม่ฟุ่มเฟือยเกินตัว
ควรระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งที่กำลังจะซื้อนั้นมีความจำเป็นจริงๆ - สินค้าบางอย่างผ่อน 0% ได้ ก็ควรผ่อนเพราะจะได้เก็บเงินก้อนไว้ใช้ยามจำเป็น
หรือเก็บออมเพื่อไม่เสียโอกาสรับผลตอบแทน
(แต่ก็อย่าลืมว่าวงเงินที่เราใช้ไปนั้นเป็นเงินที่เราต้องกันเอาไว้ชำระในอนาคตด้วยเช่นกัน) - ศึกษาเงื่อนไขบัตรเครดิต และรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน เช่น วงเงิน การชำระเงิน
ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย และการสะสมคะแนน เป็นต้น - ใช้จ่ายอะไร จดไว้ให้หมด เพื่อเป็นการสร้างวินัยทางการเงิน เพื่อนๆ
ควรจดรายละเอียดการใช้จ่ายทุกครั้งที่ใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต
และแนบสลิปไว้ด้วยเพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งยอดบัญชี - เตรียมเงินสดไว้จ่ายในวันครบกำหนดชำระเงิน ในการใช้บัตรเครดิต เพื่อนๆ
ควรชำระเงินคืนแบบเต็มจำนวนทุกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดดอกเบี้ย - ไม่ใช้บัตรจนเต็มวงเงิน
ควรระลึกไว้เสมอว่าวงเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งควรเตรียมไว้ใช้
ในยามมีเหตุการณ์จำเป็นต้องใช้เงินแบบคาดไม่ถึง - อย่าลืมเช็คคะแนนสะสม เมื่อใช้บัตรเครดิตสักระยะแล้ว
อย่าลืมตรวจสอบคะแนนสะสมที่ได้จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อที่จะนำมาใช้แลกของรางวัลต่างๆ
หลักเกณฑ์การสมัครบัตรเครดิต
โดยทั่วไปแล้ว ผู้สมัครบัตรเครดิตต้องมีรายได้ที่แน่นอน
มีหลักฐานและคุณสมบัติตามที่ผู้ให้บริการกำหนดไว้ เช่น
ทำงานประจำเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป และต้องทำงานประจำมาในช่วงเวลาหนึ่ง
หรือทำธุรกิจส่วนตัวที่มีเงินหมุนเวียนในบัญชีอย่างต่ำ 500,000บาท ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
เราต้องยอมรับว่าเพื่อนๆ นักศึกษาทั่วไปไม่น่าเข้าข่ายคุณสมบัติ 2 ข้อข้างต้น
แต่ก็ยังมีผู้ให้บริการใจดีที่มีนโยบายออกบัตรเครดิตให้เพื่อนๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้บัตรเครดิต
นั่นก็คือ บัตรเครดิตสำหรับนักศึกษาของบริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด (KCC)
ที่เปิดให้นักศึกษาอายุ 20-25 ปี ใช้เพียงเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ขั้นต่ำ
10,000 บาท โดยใช้เงินในบัญชีเงินฝากเป็นประกัน
ซึ่งจะได้รับวงเงินบัตรเครดิตสูงสุด 100% กันเลยทีเดียว
ข้อดีก็คือ เพื่อนๆ จะได้รับวงเงินที่เหมาะสมกับการจับจ่าย ไม่สร้างนิสัยการใช้เงินที่เกินตัว
เพิ่มเติม
สำหรับ หลักเกณฑ์การสมัคร, เทคนิคการใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้อง, สิทธิประโยชน์ ต่างๆ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่