แนะนำหลักสูตร BBA สำหรับเด็ก 63x ขึ้นไป เรียนยังไง ลงวิชาไหนได้บ้าง?

Share this:

สวัสดีครับ พี่ neirdo เองครับน้อง ๆ รู้หรือไม่ครับว่า ตั้งแต่เด็กเอแบครุ่น 63x ขึ้นไป หลักสูตร BBA ของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นในรูปแบบ D.I.Y. Curriculum ที่น้อง ๆ สามารถออกแบบวิชาเรียนเองได้ โดยก่อนอื่นพี่ neirdo ขอพูดถึงภาพรวมของโครงสร้างหลักสูตร BBA ก่อนครับ (สำหรับน้อง ๆ ที่เลือกเรียนสาขาบัญชีและเศรษฐศาสตร์จะไม่สามารถมีหลักสูตรแบบ D.I.Y. ได้ น้อง ๆ ต้องเรียนตามแผนการเรียนที่สาขากำหนดไว้ใน bulletin 2020-2021 นะครับ)

A) ตลอดทั้งหลักสูตร BBA เราจะเรียนกันทั้งหมด 142 หน่วยกิต โดยจะแบ่งเป็นวิชา General 40 หน่วยกิต

ซึ่งใน 40 หน่วยกิตนั้น 15 เครดิตจะเป็นวิชาภาษาอังกฤษ โดยจะเรียนตั้งแต่ ภาษาอังกฤษ 1-4 (เรียนเน้นแกรมมาร์ การอ่าน การเขียน และพรีเซนต์งาน รวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษในทางธุรกิจ เช่น การเขียนบันทึกข้อความ และอีเมล์) กับ ภาษาไทย (โดยจะเรียนเน้นไปทางหลักการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และการเขียนเอกสารต่าง ๆ)

ส่วนอีก 13 หน่วยกิต จะเป็นวิชาสายสังคม ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานทางธุรกิจและจริยธรรมเบื้องต้นให้กับนักศึกษา

และก็มีอีก 6 หน่วยกิตเป็นวิชาจิตวิทยาและมรดกทางวัฒนธรรมกับโลกาภิวัตน์เพื่อให้เรารู้เท่าทันตัวเองและรู้เท่าทันโลก

อีกทั้งมหาลัยก็มีการปูพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เบื้องต้นให้อีกด้วยเป็นจำนวน 6 หน่วยกิต

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ไม่ได้เรียนสายบัญชี หรือเศรษฐศาสตร์ทางมหาลัยก็จะให้น้องเรียนวิชาสถิติกับนวัตกรรมเพิ่มอีก 3 หน่วยกิตเพื่อให้เป็นความรู้ในโลกที่ทุกวันนี้ข้อมูล และ IT นั้นมีบทบาทสำคัญ

B) เรามาต่อกันที่วิชาเฉพาะทางของคณะ BBA กัน ซึ่งมีทั้งหมด 90 หน่วยกิต โดย 39 หน่วยกิตในนั้นเป็นวิชาสายธุรกิจซึ่งนักศึกษาทุกคนจากทุกสาขาธุรกิจ(เมเจอร์) ต้องเรียนเหมือนกันหมด ได้แก่วิชาดังนี้
– วิชาสัมมนาทางธุรกิจเพื่อเปิดรับความรู้ใหม่ ๆ หรือกำลังเป็นที่น่าสนใจและน่าจับตามองในวงการอุตสาหกรรมธุรกิจต่าง ๆ
– วิชาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล การทำบัญชีขั้นพื้นฐาน ความรู้การตลาด การบริหาร ห่วงโซ่อุปทาน และการเงินเบื้องต้นสำหรับภาคธุรกิจ รวมไปถึงการทำวิจัยทางธุรกิจ กฎหมายที่ใช้ในวงการธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ และวิชาสถิติสำหรับธุรกิจก็มีให้เรียนเช่นกัน ซึ่งถือว่าครอบคลุมในทุกองค์ความรู้ที่นักศึกษาคณะ BBA คนนึงควรมี และพร้อมเข้าสู่การทำงานในแต่ละสาขาอาชีพทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนอีก 30 หน่วยกิตของวิชาเฉพาะทางของคณะ BBA จะเป็นวิชาสาขา หรือที่เรียกกันติดปากว่าวิชาเมเจอร์ โดยเราตอนช่วงปี 2 เทอม 2 หรือ ปี 3 เทอม 1 หากเราเรียนครบ 50 หน่วยกิตแล้วจะสามารถเลือกเมเจอร์ (ดีแคลร์เมเจอร์) ได้ โดยเมเจอร์ที่เราสามารถดีแคลร์ได้นั้นมีทั้งหมด 9 เมเจอร์ ได้แก่

  • Entrepreneur and Innovation Management / สาขาผู้ประกอบการและการจัดการนวัตกรรม
  • Digital Business Management / สาขาการจัดการธุรกิจดิจิตัล
  • Finance / สาขาการเงิน
  • International Business Management / สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
  • Hospitality and Tourism Management / สาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว
  • Risk Management and Insurance / สาขาการจัดการความเสี่ยงและการประกันภัย
  • Marketing / สาขาการตลาด
  • Real Estate Management / สาขาการจัดการอสังหาริมทรัพย์
  • Supply Chain Management / สาขาการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

(*** ส่วนสาขาบัญชี (Accounting) กับสาขาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ต้องเลือกเรียนเลยตั้งแต่ปี 1 ไม่สามารถเลือกเรียนทีหลังได้เนื่องจากมีหลักสูตรและวิชาเฉพาะตัว)

โดยหลังจากน้อง ๆ เลือกดีแคลร์เมเจอร์แล้ว ก็จะต้องเรียน 10 วิชา (= 30 หน่วยกิต) ตามเมเจอร์ที่น้องเลือกดังตารางด้านล่างนี้ ซึ่งเราจะเลือกเรียนวิชาไหนก่อนหลังก็ได้ ตราบใดที่ไม่มีปัญหาเรื่องวิชา prerequisite (วิชาที่บังคับว่าเราต้องเรียนมันให้จบก่อน ไม่งั้นเราจะลงทะเบียนวิชาต่อไปไม่ได้ เช่น วิชาภาษาอังกฤษ 1 เป็น prerequisite ของ วิชาภาษาอังกฤษ 2 เราเลยต้องเรียน 1 ให้จบก่อนถึงจะไปเรียน 2 ได้ เป็นต้น)

จนมาถึงตรงนี้น้อง ๆ อาจสงสัยว่า เอ๊ะ แล้วตรงไหนมันคือหลักสูตร D.I.Y. กันนะ? พี่ neirdo จะตอบให้ครับ มันก็คือ 21 หน่วยกิตสุดท้ายของวิชาเฉพาะทางของคณะ BBA ซึ่งคือสิ่งที่พี่กำลังจะเล่าหลังจากนี้ล่ะครับน้อง ๆ

ตัวหลักสูตร D.I.Y. นี้เราจะเรียกมันอีกชื่อว่า Business Elective Courses ซึ่งมันจะเปิดโอกาสน้อง ๆ เอา 21 หน่วยกิต (= 7 วิชา) ตรงนี้ไปลงเรียนวิชาอะไรก็ได้เลยในเมเจอร์อื่น ๆ ที่น้อง ๆ อยากเรียนรู้ ลงได้แบบฟรีสไตล์เลย จะลงวิชาของเมเจอร์ไหนกี่หน่วยกิตก็ได้ภายใน 21 หน่วยกิต หรือ 7 วิชาที่ให้ไว้

เช่น ตัวอย่าง 1 (เรียนตามใจฉัน): น้องฟ้าใสดีแคลร์เป็นเด็กเมเจอร์ Marketing แต่อยากรู้เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์, การเงิน, ประกันภัย, และการบัญชี น้องฟ้าใสก็อาจเลือกเรียนวิชาใน อสังหาริมทรัพย์ 2 วิชา, การเงิน 2 วิชา, ประกันภัย 2 วิชา, และการบัญชี 1 วิชาก็ทำได้ (โดยดูวิชาของสาขาอื่น ๆ ที่อยากเรียนได้ในตารางด้านบน)

เช่น ตัวอย่าง 2 (เรียนเป็นไมเนอร์) : น้องแซมดีแคลร์เป็นเด็กเมเจอร์ Marketing เช่นกัน แต่สนใจอยากเรียนการจัดการความเสี่ยงในองค์กร และอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยทรัพย์สินมูลค่าสูง ประกันชีวิต ประกันเบ็ดเตล็ด และประกันอื่น ๆ เลยเลือกเรียน Insurance เป็นไมเนอร์ ซึ่งเขาต้องเรียนวิชาในสาขานั้นให้ครบ 5 วิชาถึงจะได้ไมเนอร์ และมีการเขียนระบุว่า “Business Concentration: Insurance” ในใบเกรดเพื่อมีผลต่อการสมัครงาน

เช่น ตัวอย่าง 3 (เรียนแค่เอาใบเกียรติบัตร) : ถ้าใครคิดว่าเรียนเป็นไมเนอร์มันเรียนเยอะไป ก็สามารถเรียน แค่ 3 วิชาเพื่อเอาใบเกียรติบัตรรับรองความรู้จากสาขาวิชาธุรกิจที่เราต้องการก็ได้ เช่น น้องจีน่าอยากได้เกียรติบัตรด้านเศรษฐศาสตร์ ก็ไปเรียนวิชา           Fundamental of Econometrics, Business and Economic Forecasting และ Data Analysis in Business and Economics รวมเป็น 3 วิชาตามที่มหาลัยกำหนดเพื่อเอาเกียรติบัตรทางด้านเศรษฐศาสตร์

*** สามารถไปดูรายวิชาที่เปิดสอนเพื่อได้เกียรติบัตรรับรองได้ที่ MSME Certificates (MSME 9 credits) บนเว็บไซต์

https://sandbox.msme.au.edu/index.php/program/bachelor-of-business-administration-bba/#1643960341798-f76cd39f-730f

*** น้อง ๆ สามารถไปดู และศึกษาการ mix & match เพื่อเลือกเรียนวิชาสาขาธุรกิจต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์นี้ครับ โดยทางมหาลัยเสนอให้ถึง 5 options ในการเลือก mix & match

https://www.msme.au.edu/images/pdf/MSMECurriculumFeb2020.pdf

C) และเรามาจบกันที่วิชาเลือกเสรี หรือ Free Elective Courses เป็นจำนวน 12 หน่วยกิต (= 4 วิชา) ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็ก BBA ทุกคนชอบเพราะในส่วนนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เราลองไปเรียนวิชาอะไรก็ได้ของต่างคณะ เช่น คณะดนตรี, คณะนิเทศ, คณะพยาบาล, คณะภาษา และอื่น ๆ หรือถ้าใครไม่อยากไปเรียนคณะอื่น จะเอา12 หน่วยกิตตรงนี้ไปเรียนวิชาของสาขาธุรกิจอื่น ๆ ก็ทำได้เหมือนกัน

เช่น น้องบอลชอบเป็นคนชอบกิจกรรมและภาษาเลยเอาหน่วยกิต Free Elective ไปลงทะเบียนเรียน วิชาทำอาหาร, วิชาร้องประสานเสียง, วิชาภาษาจีนเบื้องต้น 1 และวิชาภาษาฝรั่งเศส 1

*** แต่ก็จะมีวิชาต้องห้ามที่เด็ก BBA ต้องระวังอย่าเผลอไปลงทะเบียนวิชาเหล่านี้ตามรูปข้างล่าง ไม่งั้นจะถือเป็นการเรียนผิดหลักสูตร และจะเสียหน่วยกิตไปเปล่า ๆ

หวังว่าน้อง ๆ จะเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร D.I.Y. ของคณะ BBA มากขึ้นนะครับ และถ้ามีข้อสงสัยตรงไหน สามารถสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษาของเราได้เลย หรือสอบถามฝ่ายวิชาการของมหาลัยก็ได้ หรือสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเองได้เลยที่ https://sandbox.msme.au.edu/index.php/program/bachelor-of-business-administration-bba/#1643960341798-f76cd39f-730f

 

 

Share this:

Related Articles

ความแตกต่าง แพลน A B C ในคณะบริหารธุรกิจ (BBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(ABAC)

Share this:

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญนั้น มีชื่อเสียงในด้านการบริหารต่างๆ และ คณะบริหารธุรกิจ ถือเป็นคณะที่มีชื่อเสียงที่สุดในมหาวิทยาลัย เป็นคณะที่มีผู้คนเรียนมากที่สุดในเอแบคนั้นเอง ซึ่งในคณะบริหารธุรกิจ ได้แบ่งสาขาแยกย่อย ได้แก่ สาขาวิชาการตลาด      สาขาวิชาการจัดการ      สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร      สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาระบบสารสนเทศธุรกิจ      สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ     …

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG1002 English II

Share this:

A. Chanya Prasertrattanadecho (อาจารย์ A) – อาจารย์คนไทย สำเนียงฟังง่าย เวลาอาจารย์พูดแล้วเหมือนเราได้ฟังนางสาวไทยสมัยก่อนพูดภาษาอังกฤษ  – ใจดี เป็นกันเอง ไม่ค่อยดุ ชอบสอนเป็น lecture ยาว ๆ ถ้านักศึกษาคนไหนสงสัย ก็สามารถยกมือถามแทรกได้ – อาจารย์จะไม่โอเคมาก ๆ กับเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน หรือคุยเสียงดังในห้อง – โดยรวมบรรยากาศในห้องจะ active อาจารย์ใส่ใจนักศึกษาทุกคน และสุ่มเรียกตอบคำถามในบางที – ถึงแม้การสอนจะดูเคร่งนิด ๆ แต่ก็ยังพอชิลได้หน่อย ๆ  การสอนเนื้อหาวิชา…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG2000 Eng III

Share this:

Jesse Sessom (อาจารย์ B) – Eng 3 – อาจารย์เป็นคน American สำเนียงฟังง่าย  – ดูใจดีเป็นกันเองมากในห้อง ไม่เคยเห็นแกดุแม้แต่ครั้งเดียว – โดยรวมบรรยากาศในห้องเรียนแบบเข้าอกเข้าใจกัน อาจารย์จะไม่ทำหรือบังคับในเรื่องที่เด็กไม่ชอบ เช่น ถ้าอาจารย์รู้ว่าเด็กกลัวที่อาจารย์ชอบทำหน้าบึ้งใส่เวลาพรีเซนต์งาน แกก็จะยิ้มให้ตลอด ทำให้เด็กผ่อนคลาย – การสอนจะเป็นแบบเน้นให้เห็นภาพ เน้นซ้อมจริง พูดจริงในห้อง  การสอนเนื้อหาวิชา (5/5 ratings) – อาจารย์เป็นคนที่เตรียมการสอนดีมาก…

Share this:

Enjoy your healthy life @GVC

Share this:

ทางโรงพยาบาลไทยนครินทร์ร่วมกับหลายหน่วยงานจะจัดงาน Enjoy your healthy life ในวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16.00-19.00 น. ณหอพักGVC  โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย มีการจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด แจกบัตรสมาชิก บัตรส่วนลด คูปองเงินสด และของรางวัลจากร้านค้าต่าง ๆ  มากมาย ตามรูปที่อยู่ด้านล่างนี้ค่ะ โดยงานนี้จัดเพื่อน้อง ๆ เอแบคทุกคนค่ะ อยู่หอนอก…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG2001 English IV

Share this:

 A. Vindi Dang (อาจารย์ A) – อาจารย์เป็นคน Indian สำเนียงค่อนข้างฟังง่าย แต่คนที่ยังไม่ชินสำเนียงแกอาจรู้สึกว่าฟังยากในบางคำ  – ใจดี เป็นกันเองบางที แต่ว่าโดยรวมจะเข้มงวด ไม่ชอบให้คุยในห้อง – บรรยากาศในห้องเรียนจะเอื่อย ๆ จนอาจรู้สึกง่วงนอน เพราะแกเป็นคนพูดช้า สอนช้า – การสอนจะเป็นแบบเน้นตามหนังสือหรือเอกสารที่แกเตรียมมาสอน  การสอนเนื้อหาวิชา (3/5 ratings) – อาจารย์เป็นคนที่ความรู้แน่น แต่แกถ่ายถอดการสอนออกมาได้ดูเอื่อย ๆ และสอนช้า ทำให้อาจเบื่อง่าย –…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG1001 BG2000 BG2001 English I, III, IV

Share this:

Dr. Ernest Seely (อาจารย์ B) – Eng 1,3,4  – อาจารย์เป็นคน Canadian สำเนียงฟังง่าย  – ดูมีระยะห่างกับนักศึกษาระดับหนึ่ง ใจดี แต่บางทีก็ดุ แล้วแต่อารมณ์แก – บรรยากาศในห้องโดยรวมค่อนข้างจริงจัง ได้ความรู้จริง ๆ จาก ดร. ส่งตรงจาก แคนาดา  – การสอนจะเป็นแบบเน้นให้วิเคราะห์ ใช้ความคิด ถกปัญหา พูดคุยระดมความคิดในห้อง  การสอนเนื้อหาวิชา…

Share this:

เมเจอร์ที่เลือก เรียนจบแล้วไปทำอาชีพอะไรได้บ้างนะ

Share this:

เมเจอร์ที่เลือก เรียนจบแล้วไปทำอาชีพอะไรได้บ้างนะ สวัสดีครับ นี่พี่ Neirdo คนเดิมเพิ่มเติมคือความหล่อ 555 เอ๊ยไม่ใช่! นี่คงเป็นบทความสุดท้ายแล้วที่พี่จะเขียนส่งท้ายก่อนจะเรียนจบเอแบค และเข้าสู่โลกของการทำงานครับ ในบทความนี้พี่เลยอยากจะมาเล่าสู่กันฟังกับน้อง ๆ จากประสบการณ์ที่พี่ได้คลุกคลีกับเพื่อนเมเจอร์อื่น ๆ และหาข้อมูลกับอาจารย์และรุ่นพี่ครับว่าเรียนเมเจอร์ไหนแล้วเราเรียนจบไปทำอาชีพอะไรกันได้บ้างนะ ซึ่งข้างล่างนี้พี่มีคำตอบให้ครับ   เมเจอร์ Real Estate Management – เผื่อใครยังไม่รู้นะครับ เอแบคของเราสอนหลักสูตร Real…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG2000 English III

Share this:

A. Freda Ginajil (อาจารย์ A) – อาจารย์เป็นคน Malaysia ที่ไปโตที่ USA เลยจะมีสำเนียง American ฟังง่าย  – ดูใจดีเป็นกันเองในห้อง ไม่ค่อยดุ ไม่ค่อยเค้นคำตอบจากเด็ก แต่ถ้ามีเด็กดื้อไม่ค่อยเชื่อฟัง แกจะอารมณ์เสียทั้งคาบ – อาจารย์ไม่โอเคมาก ๆ กับเด็กที่เขียนงานแย่ และเด็กที่ชอบตั้งคำถามกับการให้คะแนนของแก – ในวันปกติทั่วไปบรรยากาศในห้องจะเรียนสบาย ๆ   การสอนเนื้อหาวิชา (3/5 ratings) – อาจารย์สามารถอธิบายหลักการเขียน memorandum ได้ดี เห็นภาพชัดเจน ให้ไอเดียได้ดีมากเมื่อเราอยากได้ข้อมูลประกอบการเขียน แต่ในส่วนของแกรมมาร์ แกจะอธิบายได้ไม่ดีเลย ไม่อธิบายว่าตรงนี้ผิดถูกเพราะอะไร เป็นแกรมมาร์เรื่องไหน โดยเฉพาะพาร์ท error เพราะแกโตมาแบบ native…

Share this:

Responses