เขียน Writing ใน English I-IV ยังไงให้ได้ A

Share this:

สวัสดีค่า ไอซ์ นะคะ ตอนนี้เรียนอยู่ปี 4 คณะ MSME ค่ะ วันนี้เราอยากมาแชร์วิธีเขียน Writing วิชา Eng1-4 ให้ผ่านได้แบบชิลล์ ๆ

ที่อยากเขียนเรื่องนี้ก็เพราะเห็นเพื่อน ๆ หลายคนบ่นกันว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการเรียนอิ๊งให้ผ่านคือการเขียน Writing เพราะงั้นเราเลยอยากแชร์ทริคการเขียน Writing ไว้ให้เพื่อน ๆ หรือน้อง ๆ ที่กำลังเรียนอิ๊งอยู่นำไปใช้ค่ะ

มา! ย้อนกลับไปตอนเราเรียนอิ๊งที่เอแบคครั้งแรกเลยแล้วกัน ตอนนั้นเราเพิ่งเข้าสู่มหา’ลัย บอกก่อนว่าตอนนั้นเราค่อนข้างมั่นใจกับการเขียนภาษาอังกฤษของตัวเองมากกกก มั่นใจว่าเราสามารถเขียนได้ยาว และน่าสนใจ แต่ความจริงคือ พัง มาก แม่! เราเคยย้อนกลับไปเห็นสิ่งที่ตัวเองเขียนตอนนั้นแล้วก็อยากจะร้องว่า ชั้น เขียน อะไร เนี่ย! เพราะงานเรามันน่าเบื่อ ยาว วกไปวนมา อ่านยาก แถมออกนอกทะเล และข้อผิดพลาดอีกมากมาย แต่การเขียนเราดีขึ้นได้เพราะว่า…

จุดเริ่มต้นของการเรียน Writing

โชคดีที่เอแบคมีคลาส EEC ซึ่งเป็นคลาสปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนจะเข้าเรียนปี 1 เราว่าคลาสนี้มีประโยชน์มากเพราะคลาสนี้สอนตั้งแต่การเขียน Paragraph เลย ( Paragraph ก็คือการเขียนแค่ 1 ย่อหน้านั่นเอง ) ซึ่งในคลาส EEC ตอนนั้น อาจารย์ของเราก็ให้หัวข้อมาเรื่องนึง และสั่งให้เขียน 1 Paragraph แต่เชื่อมั้ยทุกคน เราเขียนไปเป็น Essay ประมาณ 500++ คำเลย มี intro content summary (ทั้งที่เขาต้องการแค่ 150 คำ) ซึ่ง มันผิด! เอาจริง ๆ ที่เราเขียนไปแบบนั้นอะเพราะเราเคยมี mindset ที่ว่า ถ้าเราทำมาก อาจารย์จะเห็นว่าเราตั้งใจ และมองว่าเรามีความสามารถทำได้ แต่! ไม่จริงค่ะ การทำงานที่ดีและถูกต้องคือการทำให้ตรงจุดประสงค์ของงาน หรือ “ตรง ตาม คำ สั่ง” นั่นเอง เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญมากมากมากมากสำหรับการเขียนในคลาสอิ๊งทุกคลาสเลยคือ “การฟังคำสั่ง” ค่ะ อย่าเพิ่งคิดว่าการเขียนในแบบของตัวเองดีที่สุดแล้ว แต่ให้ลองปรับสไตล์การเขียนตัวเองให้เข้าใน Pattern ที่อาจารย์สอนในคลาส

เขียน Writing ง่าย ๆ ใน 4 Steps

1) อ่านคำสั่ง – ดูว่าอาจารย์สั่งให้เขียน Paragraph กี่ Paragraph? หรือให้เขียน Essay ชนิดไหน? (Essay มีหลายชนิด เช่น Narrative เล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ, Compare Contrast ให้เปรียบเทียบ, ฯลฯ) และที่สำคัญ เขียนกี่คำ? (การเขียนน้อยไปหรือมากไปจากคำที่กำหนด จะถูกหักคะแนน)

2) คิดว่าจะเอาอะไรมาเขียนดี? – หลังอ่านโจทย์แล้วให้เราเขียนทุกอย่างที่มันขึ้นมาในหัวเลย แล้วเลือกเอาเฉพาะ Main Idea ที่อยากเขียนที่สุด และโฟกัสกับจุดนั้น เช่น อาจารย์ให้เขียนปัญหาของการเรียนออนไลน์ 3 ปัญหา ในหัวเราอาจจะคิดได้เป็นสิบ ๆ อย่างแต่เราควรเลือกสิ่งที่เรารู้มากที่สุดเพื่อที่จะอธิบายต่อในหัวข้อนั้นได้ เช่น เราอาจจะเขียนว่าเรียนออนไลน์ทำให้ Lack of In-person interaction เพราะเรามั่นใจว่าเราอธิบายเหตุผลเพื่อขยายความได้ เช่น เพราะไม่ได้เจอเพื่อน ๆ หรือพูดคุยกับอาจารย์ตัวเป็น ๆ เหมือนกับการเรียน onsite

3) เริ่มเขียน – ท่องไว้ว่าอย่าออกจาก Main Idea, คนอื่นต้องอ่านแล้วเข้าใจด้วยไม่ใช่เราเข้าใจของเราคนเดียว, ต้องมี Transition words หรือคำเชื่อมเพื่อให้ทุกอย่าง flow เช่น ใช้ However เพื่อแสดงว่ามันเกิดความขัดแย้งกันระหว่างประโยค (Note: สำหรับคนที่เรียนอิ๊ง 4 จะต้องเจอเรื่อง Citation อยู่บ่อย ๆ เพราะงั้นอย่าลืมดูว่าต้องเขียน Citation ยังไง? – Citation คือการเขียนที่มาของข้อความที่เรายกมา ที่เราเรียนใช้ APA style เพราะฉะนั้นต้องจำรูปแบบการเขียนให้ดีเพื่อจะได้เขียนให้ถูกต้อง)

4) การสรุป – Thesis statement ต้องตรงกับที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ใช่สรุปไปอย่างอื่น บางทีอาจมีการใส่ Suggestion ให้ผู้อ่านลงไปด้วย ต้องฟังอาจารย์ให้ดีว่าต้องการให้เขียนแบบไหน

เรื่องง่ายๆ ที่ไม่น่าพลาดแต่คนชอบพลาด

Ø ย่อหน้าแต่ละ Paragraph (ฟังให้ดีว่าอาจารย์ต้องการย่อหน้ามั้ย ถ้าลืมเว้นย่อหน้าอาจโดนตัดคะแนน)

Ø Topic sentence (ประโยคขึ้นต้นควรสื่อถึงเนื้อหาใน Paragraph นั้น ๆ ว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ย้ำ ว่าของแต่ละย่อหน้านั้น ๆ ไม่ใช่ครอบคลุมทุกย่อหน้า)

Ø Grammar (ดู Tense และ grammar อื่น ๆ ให้ถูก)

Ø Spelling (อย่าลืมเช็กการสะกดคำ)

Ø Pronoun (ใช้คำสรรพนามให้ถูกต้อง ส่วนใหญ่การเขียนใน Eng I-IV ทั้งหมดมักจะไม่ใช้ I, You, We เลย เพราะจะค่อนข้างเป็นทางการ และพูดถึงเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเรา เพราะฉะนั้นพยายามเลี่ยงคำสรรพนามพวกนี้)

Ø เพิ่มคำศัพท์เก๋ ๆ เรียกคะแนนบ้าง อย่าใช้แต่คำซ้ำเดิม (ลองหาคำที่มีความหมายเหมือนกันมาใส่ดู เช่น show > indicate, because>since, etc.) แต่ระวังอย่าเล่นคำเยอะเกินไป หรือใช้คำแฟนซีที่อาจทำให้ความหมายผิดเพี้ยน ควรเข้าใจความหมายคำนั้น ๆ ก่อนใช้ว่าสามารถแทนกันในบริบทที่กำลังเขียนได้หรือไม่

Ø อย่าเขียนเพลินจนเผลอออกนอกทะเลไม่รู้ตัว ทริคง่าย ๆ ที่เราใช้เลยคือปล่อย essay ที่เราเขียนไว้สักหลาย ๆ ชั่วโมง หรือสักวันนึง แล้วกลับมาอ่านใหม่ เราจะเห็นข้อผิดพลาดตัวเองเวลาอ่านเลยทันทีว่ามันออกทะเลหรือวกไปวนมาจนน่างงรึเปล่า (แต่ถ้าเป็นเวลาสอบก็คงจะทิ้งไว้แล้วกลับมาดูไม่ได้ ไม่งั้นคงหมดเวลาทำพอดี เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกเขียนเยอะ ๆ ด้วยตัวเองก่อนสอบจะได้ทำข้อสอบได้สบาย ๆ นะคะ)

Ø อย่าลืมเขียนชื่อลงบนกระดาษคำตอบ หรือถ้าเป็นการสอบออนไลน์ ห้ามลืมกด Submit เด็ดขาด! ไม่งั้นที่ทำไปจะสูญเปล่าเลย T_T

ถ้าอยากให้เรามาเล่าทริคดี ๆ แบบนี้อีก หรือว่าเรื่องอะไรก็ขอมาได้ในคอมเม้นต์นะคะ ขอบคุณที่อ่านค่า

Share this:

Related Articles

Ethic seminar schedule semester 1/2012

Share this:

ตรวจสอบตารางเรียนวิชาEthicsได้ที่นี่เลย >คลิ๊ก<       BG1403x  PROFESSIONAL ETHICS SEMINAR  CLASS SCHEDULE  SEMESTER 1/2012  ( BEFOR MIDTERM ) SUBJECT CLASS SECTION NATION DAY D/M/Y TIME NO.…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG1002 English II

Share this:

A. Chanya Prasertrattanadecho (อาจารย์ A) – อาจารย์คนไทย สำเนียงฟังง่าย เวลาอาจารย์พูดแล้วเหมือนเราได้ฟังนางสาวไทยสมัยก่อนพูดภาษาอังกฤษ  – ใจดี เป็นกันเอง ไม่ค่อยดุ ชอบสอนเป็น lecture ยาว ๆ ถ้านักศึกษาคนไหนสงสัย ก็สามารถยกมือถามแทรกได้ – อาจารย์จะไม่โอเคมาก ๆ กับเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน หรือคุยเสียงดังในห้อง – โดยรวมบรรยากาศในห้องจะ active อาจารย์ใส่ใจนักศึกษาทุกคน และสุ่มเรียกตอบคำถามในบางที – ถึงแม้การสอนจะดูเคร่งนิด ๆ แต่ก็ยังพอชิลได้หน่อย ๆ  การสอนเนื้อหาวิชา…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG2000 Eng III

Share this:

Jesse Sessom (อาจารย์ B) – Eng 3 – อาจารย์เป็นคน American สำเนียงฟังง่าย  – ดูใจดีเป็นกันเองมากในห้อง ไม่เคยเห็นแกดุแม้แต่ครั้งเดียว – โดยรวมบรรยากาศในห้องเรียนแบบเข้าอกเข้าใจกัน อาจารย์จะไม่ทำหรือบังคับในเรื่องที่เด็กไม่ชอบ เช่น ถ้าอาจารย์รู้ว่าเด็กกลัวที่อาจารย์ชอบทำหน้าบึ้งใส่เวลาพรีเซนต์งาน แกก็จะยิ้มให้ตลอด ทำให้เด็กผ่อนคลาย – การสอนจะเป็นแบบเน้นให้เห็นภาพ เน้นซ้อมจริง พูดจริงในห้อง  การสอนเนื้อหาวิชา (5/5 ratings) – อาจารย์เป็นคนที่เตรียมการสอนดีมาก…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG2001 English IV

Share this:

 A. Vindi Dang (อาจารย์ A) – อาจารย์เป็นคน Indian สำเนียงค่อนข้างฟังง่าย แต่คนที่ยังไม่ชินสำเนียงแกอาจรู้สึกว่าฟังยากในบางคำ  – ใจดี เป็นกันเองบางที แต่ว่าโดยรวมจะเข้มงวด ไม่ชอบให้คุยในห้อง – บรรยากาศในห้องเรียนจะเอื่อย ๆ จนอาจรู้สึกง่วงนอน เพราะแกเป็นคนพูดช้า สอนช้า – การสอนจะเป็นแบบเน้นตามหนังสือหรือเอกสารที่แกเตรียมมาสอน  การสอนเนื้อหาวิชา (3/5 ratings) – อาจารย์เป็นคนที่ความรู้แน่น แต่แกถ่ายถอดการสอนออกมาได้ดูเอื่อย ๆ และสอนช้า ทำให้อาจเบื่อง่าย –…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG1001 BG2000 BG2001 English I, III, IV

Share this:

Dr. Ernest Seely (อาจารย์ B) – Eng 1,3,4  – อาจารย์เป็นคน Canadian สำเนียงฟังง่าย  – ดูมีระยะห่างกับนักศึกษาระดับหนึ่ง ใจดี แต่บางทีก็ดุ แล้วแต่อารมณ์แก – บรรยากาศในห้องโดยรวมค่อนข้างจริงจัง ได้ความรู้จริง ๆ จาก ดร. ส่งตรงจาก แคนาดา  – การสอนจะเป็นแบบเน้นให้วิเคราะห์ ใช้ความคิด ถกปัญหา พูดคุยระดมความคิดในห้อง  การสอนเนื้อหาวิชา…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา BG2000 English III

Share this:

A. Freda Ginajil (อาจารย์ A) – อาจารย์เป็นคน Malaysia ที่ไปโตที่ USA เลยจะมีสำเนียง American ฟังง่าย  – ดูใจดีเป็นกันเองในห้อง ไม่ค่อยดุ ไม่ค่อยเค้นคำตอบจากเด็ก แต่ถ้ามีเด็กดื้อไม่ค่อยเชื่อฟัง แกจะอารมณ์เสียทั้งคาบ – อาจารย์ไม่โอเคมาก ๆ กับเด็กที่เขียนงานแย่ และเด็กที่ชอบตั้งคำถามกับการให้คะแนนของแก – ในวันปกติทั่วไปบรรยากาศในห้องจะเรียนสบาย ๆ   การสอนเนื้อหาวิชา (3/5 ratings) – อาจารย์สามารถอธิบายหลักการเขียน memorandum ได้ดี เห็นภาพชัดเจน ให้ไอเดียได้ดีมากเมื่อเราอยากได้ข้อมูลประกอบการเขียน แต่ในส่วนของแกรมมาร์ แกจะอธิบายได้ไม่ดีเลย ไม่อธิบายว่าตรงนี้ผิดถูกเพราะอะไร เป็นแกรมมาร์เรื่องไหน โดยเฉพาะพาร์ท error เพราะแกโตมาแบบ native…

Share this:

รีวิวอาจารย์วิชา GE1403 Communication in Thai

Share this:

A. Nanta Thongtaweewattana – Communication in Thai  – อาจารย์เป็นคนที่เคร่งเรื่องหลักภาษาไทยมาก ๆ   – อาจารย์เป็นคนที่ดุในห้อง แต่นอกห้องจะใจดีมาก  – อาจารย์ไม่ชอบเด็กมาสายเอามาก ๆ และไม่ชอบเด็กมารยาทไม่ดีที่สุด  – คลาสเรียนอาจตึง ๆ นิดหน่อยเพราะนักศึกษาต้องอยู่ในกฎระเบียบขณะเรียน  การสอนเนื้อหาวิชา (4/5 ratings) – อาจารย์เป็นคนที่พูดจาฉะฉาน อธิบายตรงประเด็น และพูดทีเดียวเคลียร์แล้วจะพูดเรื่องต่อไปเลย ซึ่งถ้าคนที่ทักษะการฟังไม่ดีจะพลาดเนื้อหาไปค่อนข้างง่าย   การเช็กชื่อเข้าเรียน (5/5 ratings)  …

Share this:

Responses