5 ห้องในเอแบคที่นักศึกษาทุกคนควรรู้จัก

Share this:

สวัสดีครับ กลับมาแล้วกับอีกบทความจากพี่ชื่อ neirdo คนเดิมครับ หลังจากเปิดเทอมกันมาได้หลายเดือน น้องหลายคนน่าจะเริ่มรู้กันแล้วว่าตึกอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง และสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ในมหาลัยกันมาพอตัว แต่พี่ก็เชื่อว่าน่าจะมี “บางห้อง” ที่น้อง ๆ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีห้องแบบนี้ด้วยหรอที่เราสามารถเข้าไปใช้บริการได้ ซึ่งเรามาดูกันเลยดีกว่าว่า 5 ห้องนั้นมีห้องอะไรบ้าง

 

  1. ห้อง CCDC (Center for Career Development and Counseling) ที่ชั้น 13 ตึก CL

ห้องนี้เป็นห้องที่น้อง ๆ สามารถเข้ามาขอคำแนะนำเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการสมัครงานได้ โดยจะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญคอยไกด์น้อง ๆ ว่าต้องพัฒนาตัวเองในด้านไหน มีแบบทดสอบความพร้อมในอาชีพให้ทำ และชี้ช่องทางในการสมัครให้ด้วย อีกทั้งอาจารย์ยังมีบริษัทใน connection ที่สามารถหางานให้กับน้อง ๆ ได้ทั้งหลังเรียนจบ, งาน part-time หรืองาน event ที่ได้ค่าจ้างเป็นรายครั้ง

นอกจากนี้อาจารย์สามารถแนะแนวน้อง ๆ เรื่องการเรียน หลักสูตร ชีวิตในมหาลัย ไปจนถึงการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า เครียด และปัญหาทางสังคม แบบไม่มีค่าใช้จ่ายและให้คำปรึกษาได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

 

  1. ห้องพยาบาล (Health Service) ที่ชั้น 2 ตึกหอใน Queen of Sheba

ถ้าน้อง ๆ คนไหนรู้สึกไม่สบาย ก็ไปรับบริการได้ที่ห้องพยาบาลในหอในได้ โดยในห้องจะมีพยาบาลคอยประจำอยู่จันทร์ – วันศุกร์ (8.00 น. – 16.30 น.) มียารักษาโรคเบื้องต้นให้ เช่น เป็นไข้ ปวดหัว ปวดท้อง เป็นต้น หรือแม้แต่ขาแพลง เท้าพลิก เท้าบวมก็สามารถไปให้พี่พยาบาลช่วยดูแล และปฐมพยาบาลได้เช่นกัน หากอาการหนักมากสามารถขอนอนพักในห้องพยาบาลและรอส่งตัวไปโรงพยาบาลได้

 

  1. ห้อง Office of Information Technology ที่ชั้น 3 ตึก Srisakdi Charmonman (ตึก SC)

ปกติห้องนี้เป็นห้องที่ไม่ค่อยมีใครไปใช้บริการสักเท่าไหร่ แต่ถือเป็นห้องที่มีความสำคัญกับนักศึกษามากเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับข้อมูลในระบบของนักศึกษา เช่น ลืมรหัสผ่าน กรอกข้อมูลผิด เป็นต้น หรือไม่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมที่ใช้เรียนได้ เช่น โปรแกรม SAS, SPSS, และ Microsoft Office ทั่วไป โดยเราสามารถเข้าไปขอความช่วยเหลือกับพี่ ๆ IT ในห้องได้เลย ทุกคนใจดีมาก และ standby เพื่อช่วยเหลือน้อง ๆ ตั้งแต่จันทร์ – วันศุกร์ (8.00 น. – 16.30 น.) หรือถ้าแม้แต่เกิดปัญหากับพวกอุปกรณ์ในห้องเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ดับ โปรเจ็กเตอร์เสีย ไมค์เสียบไม่ติดก็สามารถมาเรียกพี่ ๆ IT ให้ไปช่วยซ่อมให้ได้

 

  1. ห้องรับเรื่อง MSME Petition ที่ชั้น 2 ตึก MSM

หากใครไม่เคยมาห้องนี้เลย ถือว่าชีวิตมหาลัยที่เอแบคนั้นแทบไม่มีปัญหาเลย เพราะห้องนี้เป็นห้องรวมเรื่องต่าง ๆ เพื่อไปดำเนินการคำร้องให้กับเด็ก BBA ตั้งแต่ exam time conflict, campus conflict, ขอ petition เพิ่มซีทในเซคที่คนลงทะเบียนเต็ม, ย้ายเมเจอร์ และอีกมากมาย โดยก่อนจะมาห้องนี้ได้ต้องไปขอแบบฟอร์มคำร้องและใบ unofficial transcript จากห้องทะเบียน SM116 พร้อมกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย จากนั้นก็มาติดต่อพี่สต๊าฟที่ counter ในห้องรับเรื่อง MSME Petition และรอประมาณ 2-7 วันเพื่อให้ dean ของ MSME อนุมัติคำขอ (พยายามหมั่นมาถามพี่สต๊าฟทุกวันว่า dean เซ็นอนุมัติแล้วหรือยังด้วยตัวเอง)

 

  1. ห้องสมุด Cathedral of Learning Library ที่ตึก CL ชั้น 2

แน่นอนว่าหลายคนต้องรู้จักห้องสมุดเป็นอย่างดี เพราะมันเป็นห้องที่แอร์เย็นมาก เหมาะกับการมางีบกลางวัน เอ้ยไม่ใช่ ! เป็นแหล่งการเรียนรู้ของเอแบคต่างหาก ซึ่งเชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าห้องสมุดเรานั้นมีหลายฟีเจอร์ที่ซ่อนอยู่

1) เราสามารถขอให้พี่บรรณารักษ์ช่วยหาหนังสือให้เราได้ โดยเราแค่บอกประเภทหนังสือที่ต้องการ รอประมาณ 1 นาทีแล้วพี่บรรณารักษ์จะยื่นกระดาษ 1 ใบให้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของหนังสือที่เราตามหา แต่ถ้าหากหนังสือนั้นอยู่ห้องสมุดที่หัวหมาก เราก็สามารถขอให้พี่บรรณารักษ์นำหนังสือจากหัวหมากมาให้เราได้ภายใน 1-3 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

2) เราสามารถทำเรื่องขอยืมหนังสือกลับบ้านได้ หรือแม้แต่ขอ access เข้าระบบวารสาร งานวิชาการ วิทยานิพนธ์ และเอกสารเก่า ๆ ของทางมหาลัยเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมในด้านที่เราสนใจได้ เช่น หลักฐานการก่อตั้งมหาลัย ภาพถ่ายพิธีกรรมต่าง ๆ ในมหาลัยสมัย 40 ปีก่อน เป็นต้น

3) เราสามารถมาปริ๊นท์งานที่ห้องสมุดได้ โดยขาวดำ แผ่นละ 1.5 บาท และสีแผ่นละ 7.5 บาท

 

Author : neirdo

Share this:

Related Articles

แนะนำหลักสูตร BBA สำหรับเด็ก 63x ขึ้นไป เรียนยังไง ลงวิชาไหนได้บ้าง?

Share this:

สวัสดีครับ พี่ neirdo เองครับน้อง ๆ รู้หรือไม่ครับว่า ตั้งแต่เด็กเอแบครุ่น 63x ขึ้นไป หลักสูตร BBA ของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นในรูปแบบ D.I.Y. Curriculum ที่น้อง ๆ สามารถออกแบบวิชาเรียนเองได้ โดยก่อนอื่นพี่ neirdo ขอพูดถึงภาพรวมของโครงสร้างหลักสูตร BBA ก่อนครับ (สำหรับน้อง ๆ ที่เลือกเรียนสาขาบัญชีและเศรษฐศาสตร์จะไม่สามารถมีหลักสูตรแบบ…

Share this:

Late examination

Share this:

“REQUIRED DOCUMENTS FOR ?LATE EXAMINATION? APPLICATION เอกสารที่ต้องใช้ในการขอเลื่อนสอบ In case of ?sickness? กรณีที่ป่วย Medical bills, and medical certificate or a photocopy containing ?the doctor?s detailed diagnosis…

Share this:

Coursera ปลดล็อค100คอร์สให้เรียนฟรี

Share this:

  วันนี้ ABACTODAY มีเรื่องดีๆมาให้น้องๆได้ทราบกันค่ะ Coursera ปลดล็อคคอร์สเรียนเสียเงิน 100 คอร์สให้เรียนฟรีพร้อมเกียรติบัตร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Full-option ในช่วง COVID-19 ระบาด   “https://blog.coursera.org”   (อ้างอิงจาก Facebook : PATTHARINterest)          …

Share this:

รู้หรือไม่? เด็กABAC ใช้ Microsoft Office FREE!! for PC, Mac, Smartphone

Share this:

สวัสดีค่าาาา วันนี้มีเรื่องราวดีๆมาบอกต่อ รู้หรือไม่?? ชาว ABAC สามารถใช้ Microsoft Office ฟรี!! Office 365 Education โดยปกติแล้ว Office 365 จะเสียค่าใช้จ่าย 2000-4000 บาทต่อปี แต่เด็ก ABAC เอาไปใช้กันฟรีๆ !! มาติดตั้งกันเลย !! (ใช้ได้สูงสุด…

Share this:

7 สิ่ง ที่นักศึกษาเอแบคควรทราบก่อน Adding

Share this:

7 สิ่ง ที่นักศึกษาเอแบคควรทราบก่อน Adding ตำราสอน Adding บอกครบ จบหมดในที่เดียว           ก่อนที่ฤดูกาล Adding ของเด็กเอแบคจะมาถึงในช่วงเปิดเทอม น้อง ๆ ที่พึ่งเข้ามาใหม่ หรือ รุ่นพี่ที่กำลังเรียนอยู่อาจจะสงสัยหรือมีปัญหากับการ Adding กัน วันนี้ ABACTODAY ก็ได้นำเอาข้อมูลต่าง ๆ…

Share this:

นโยบายและข้อบังคับเกี่ยวกับการเรียนการสอนหลังการสอบกลางภาคเรียน1/2563 จนถึงสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563

Share this:

นโยบายและข้อบังคับเกี่ยวกับการเรียนการสอนหลังการสอบกลางภาคเรียน  1/2563 จนถึงสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563   นโยบายและข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนหลังภาคเรียน ภาคเรียนที่ 1/2563 การสอบกลางภาคเรียนจนถึงสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563 เพื่อตอบสนองต่อการประกาศของ The Centre for Covid-19 Situation Administration (CCSA) ที่อนุญาตให้สถาบันการศึกษากลับมาดำเนินการเรียนการสอนในวิทยาเขตได้ โดยthe Office of Academic Affairsได้ทำการปรึกษาหารือกับ the…

Share this:

GS1001 : Thai Civil

Share this:

Midterm Summary ก่อนประวัติศาสตร์ของเมืองไทย ผู้อยู่อาศัยในยุคแรกและอารยธรรม Anthropologist – นักมานุษยวิทยา – studies about culture of mankind – ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ Archeologist- นักโบราณคดี – studies about the ancient civilization, rely on…

Share this:

Responses