เคล็ด(ไม่)ลับเก็บชั่วโมงทุนอย่างไรให้ได้ครบไว (สำหรับนักศึกษาทุน)

Share this:

เคล็ด(ไม่)ลับเก็บชั่วโมงทุนอย่างไรให้ได้ครบไว (สำหรับนักศึกษาทุน)

สวัสดีครับ ผม neirdo เอง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วผมก็เป็นประธานบริษัท เอ้ย! …นักศึกษาทุนครับ และเพื่อน ๆ หลายคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ก็คงเป็นนักศึกษาทุนเหมือนกับผมเช่นกัน ในฐานะนักศึกษาทุนทุกคนน่าจะทราบกันแล้วใช่ไหมครับว่าภายใน 1 เทอมเราต้องเก็บชั่วโมงทุนให้ได้ถึง 60 ชั่วโมง (หรือบางเทอมออนไลน์อาจเป็น 30 ชั่วโมงตามข้อกำหนดของเอแบค) แต่มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้เราเก็บชั่วโมงทุนได้แบบไว ๆ กันนะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปอ่าน 5 เคล็ด(ไม่)ลับของวิธีเก็บชั่วโมงทุนที่ผมรวบรวมมาให้เพื่อน ๆ กันครับ

 

  1. เคล็ด(ไม่)ลับที่ 1 : ติดตามงานทุนทางเพจ AU Scholarship Working Staff

ในเพจนี้จะคอยแจ้งข่าวสารงานทุนว่า ตอนนี้มีส่วนงานใดของเอแบคต้องการนักศึกษาทุนไปทำงานบ้างเพื่อแลกชั่วโมงทุน ซึ่งงานส่วนใหญ่จะให้ชั่วโมงทุนค่อนข้างมาก ตั้งแต่ 10 ถึง 60 ชั่วโมงต่องาน แต่เพื่อน ๆ ต้องหมั่นเข้าไปดูข่าวสารในเพจอย่างสม่ำเสมอ เพราะแต่ละงานมักรับนักศึกษาทุนในจำนวนจำกัด และนักศึกษาคนอื่น ๆ มักรีบลงทะเบียนจองงานทุนกันค่อนข้างไว เพื่อให้เพื่อน ๆ ไม่พลาดงานทุนต่าง ๆ ผมแนะนำให้เพื่อน ๆ กดตั้ง notification แบบ See First ไว้ เพื่อจะได้ไม่พลาดลงทะเบียนในทุกงานทุนแน่นอน

ลิงก์เพจ: https://www.facebook.com/austaff

 

  1. เคล็ด(ไม่)ลับที่ 2 : ช่วยงานบรรณารักษ์ห้องสมุด

ถ้าเพื่อน ๆ คร่ำหวอดในวงการทำงานทุนที่มหาลัยเป็นอย่างดี น่าจะรู้ว่าห้องสมุดนั้นจะเป็นที่แรก ๆ ที่นักศึกษาทุนอย่างเราจะไปทำงานทุน เพราะ 1 คือมีงานให้ทำค่อนข้างมาก เลือกได้ตามความถนัดตั้งแต่โหลดไฟล์หนังสือขึ้นเว็บมหาลัย ทำพิสูจน์อักษรเอกสารของห้องสมุด ไปจนถึงช่วยพี่บรรณารักษ์จัดของในห้องสมุด และ 2 คือเวลาทำงานค่อนข้างยืดหยุ่น ถ้าใครที่ไปถึงมหาลัยเช้าก็สามารถเริ่มทำงานทุนได้ตั้งแต่ห้องสมุดเปิดตอนประมาณ 8.30 น. หรือถ้าใครอยู่หอจะทำงานทุนทั้งวันจนห้องสมุดปิดตอน 17.30 น. ก็ได้เช่นกัน แต่ข้อเสียคือช่วงที่ใกล้ยื่นรายงานชั่วโมงตอนท้ายเทอม จะมีนักศึกษาทุนที่ยังไม่ได้เริ่มทำงานมาเลยแห่ไปทำงานทุนค่อนข้างมาก งานทุนเลยมักไม่พอสำหรับนักศึกษาทุนทุกคน จึงแนะนำให้เพื่อน ๆ ทำงานทุนแต่เนิ่น ๆ จะได้สบายในภายหลัง

สถานที่: อาคาร CL ชั้น 2 และ ชั้น 3

 

  1. เคล็ด(ไม่)ลับที่ 3 : เรียน / เป็น trainer ให้กับโครงการ E4All & AU Career

2 โครงการนี้ก็ถือเป็นอีก 1 วิธีที่จะได้ชั่วโมงทุนแบบง่าย ๆ เพียงแค่เราเข้าเรียนหรือช่วยอาจารย์เป็น trainer สอนรุ่นน้องก็จะได้รับชั่วโมงทุน 30 ชั่วโมงไปเลย แต่เราต้องพยายามหาเวลาว่าง 1 คาบใหญ่ หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จะเป็นช่วงเวลาเดียวกับคาบ Ethics Seminar ก็ได้) มาเข้าเรียนหรือสอน โดยเพื่อน ๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่ออาจารย์ปิยะ สายลมรักษา (อ.เซน) ได้ทางเฟซบุ๊กของอาจารย์ FB: Zen Sailomraksa โดยโครงการ E4All (English for All) จะเปิดโครงการรับนักศึกษาในช่วงเทอมที่ 1 ของทุกปีการศึกษา และ AU Career จะเป็นในช่วงเทอมที่ 2 ของบางปีการศึกษา

ลิงก์เฟซบุ๊กของอาจารย์: https://www.facebook.com/ajarnzen

 

  1. เคล็ด(แอบ)ลับที่ 4 : ขอเป็นนักศึกษาช่วยงานของอาจารย์ผู้สอน (99% ของนักศึกษาทุนไม่รู้)

ถ้าเราสนิทหรือรู้จักกับอาจารย์ผู้สอนท่านไหน สามารถขอให้อาจารย์ทำเรื่องกับทางห้องทะเบียนให้เราเป็นนักศึกษาทุนผู้ช่วยงานของอาจารย์แบบส่วนตัวได้ โดยชั่วโมงทุนที่ได้จะได้แบบเหมาเป็นรายเทอมหรือรายปีการศึกษาเลย ซึ่งสามารถตัดปัญหาให้เราไม่ต้องเสียเวลาไปหางานทุนมาทำอีกในเทอมหรือปีการศึกษานั้น ๆ แต่วิธีนี้ก็อาจมีข้อเสียเช่นกัน เพราะถ้าอาจารย์ที่รับเราไปช่วยงานมีภาระงานค่อนข้างมาก เช่น สอนนักศึกษาหลักร้อยคน ทำงานวิจัยตีพิมพ์ หรือแม้แต่ทำ survey ข้อมูลต่าง ๆ ในมหาลัย เป็นต้น เราก็จะภาระงานมากตามอาจารย์ไปด้วย ถ้ารู้วิธีนี้แล้วเพื่อน ๆ จะลองทำงานดูสัก 1 เทอมก่อนก็ได้ว่าชอบงานทุนแบบนี้หรือไม่

 

  1. เคล็ด(ไม่)ลับที่ 5 : ของานทุนจากห้องทะเบียนมหาลัย

ถ้าเพื่อน ๆ ไม่รู้จะไปหางานทุนที่ไหน หรือแย่งลงทะเบียนงานทุนกับคนอื่นเขาก็ไม่ทันอีก มืดแปดด้านแล้ว วิธีหางานทุนที่ง่ายที่สุด คือให้เดินตรงเข้าไปที่ห้องทะเบียนของมหาลัย และแจ้งอาจารย์ที่ดูแลนักศึกษาทุนว่าเราต้องการหางานทุนทำ อาจารย์จะแจกงานให้เราช่วยเรื่องเอกสารของนักศึกษาทุนคนอื่น ๆ เช่น เช็คยอดชั่วโมงทุน พิมพ์ประกาศรับสมัครนักศึกษาทุน ช่วยงานลงทะเบียน หรือเช็คความถูกต้องของข้อมูลทุนที่กรอกไป เป็นต้น แต่งานทุนที่ห้องทะเบียนมหาลัยนั้นเราไม่สามารถ walk-in เข้าไปทำได้ทันที เราต้องนัดเวลาทำงานล่วงหน้ากับอาจารย์ก่อนอย่างน้อย 1 วันถึงจะเข้าไปทำงานได้

สถานที่: อาคาร SM ฝั่งห้องน้ำชาย

 

Share this:

Related Articles

ชมรมในเอแบค (Student clubs in ABAC)

Share this:

สำหรับนักศึกษาคนที่สนใจเข้าร่วมชมรมในเอแบค อาจจะเป็นเพราะว่าอยากได้เพื่อนใหม่ๆที่มีความชอบคล้ายๆกัน, สนใจเรียนรู้เรื่องต่างๆ, อยากใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์, อยากหาประสบการณ์ หรือ ด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม  ในเอแบค เรามีชมรมให้เลือกอยู่มาก ชมรมไหนดีที่สุด ฃมรมไหนสนุกที่สุด? อาจจะไม่มีใครสามารถตอบได้ เนื่องจากแต่ละชมรมก็มีเหตุผลและจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป เรามาลองเลือกชมรม ที่เราจะเข้าอยู่ ได้ดังนี้:   1. Digital Marketing Club & Company (DMCC) ถึงเป็นชมรมที่มาใหม่…

Share this:

8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่ใช้แบบผิดๆ

Share this:

พอดีไปเจอบทความหนึ่งเห็นว่ามีประโยชน์เลยอยากเอามาแบ่งปันกัน ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันจนติดปากอยู่มากมาย แต่คุณเคยรู้ไหมว่า มีบางคำที่ชาวต่างชาติไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันจนติดปาก วันนี้จึงอยากนำเสนอคำศัพท์สัก 10 ตัวอย่างที่คนไทยมักใช้อย่างผิดๆ พร้อมทั้งคำที่ถูกต้องซึ่งคุณควรนำไปใช้เวลาคุยกับชาวต่างชาติ 1) อินเทรนด์ (in trend) คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย…ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า “มันทันสมัย” คุณอาจจะติดปากว่า “It is in…

Share this:

7 สิ่ง ที่นักศึกษาเอแบคควรทราบก่อน Adding

Share this:

7 สิ่ง ที่นักศึกษาเอแบคควรทราบก่อน Adding ตำราสอน Adding บอกครบ จบหมดในที่เดียว           ก่อนที่ฤดูกาล Adding ของเด็กเอแบคจะมาถึงในช่วงเปิดเทอม น้อง ๆ ที่พึ่งเข้ามาใหม่ หรือ รุ่นพี่ที่กำลังเรียนอยู่อาจจะสงสัยหรือมีปัญหากับการ Adding กัน วันนี้ ABACTODAY ก็ได้นำเอาข้อมูลต่าง ๆ…

Share this:

แนะนำหลักสูตร BBA สำหรับเด็ก 63x ขึ้นไป เรียนยังไง ลงวิชาไหนได้บ้าง?

Share this:

สวัสดีครับ พี่ neirdo เองครับน้อง ๆ รู้หรือไม่ครับว่า ตั้งแต่เด็กเอแบครุ่น 63x ขึ้นไป หลักสูตร BBA ของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นในรูปแบบ D.I.Y. Curriculum ที่น้อง ๆ สามารถออกแบบวิชาเรียนเองได้ โดยก่อนอื่นพี่ neirdo ขอพูดถึงภาพรวมของโครงสร้างหลักสูตร BBA ก่อนครับ (สำหรับน้อง ๆ ที่เลือกเรียนสาขาบัญชีและเศรษฐศาสตร์จะไม่สามารถมีหลักสูตรแบบ…

Share this:

เตรียมตัวสอบและสอบยังไงให้ได้คะแนนดี

Share this:

สวัสดีครับเพื่อน ๆ เจอกันอีกแล้ว นี่ก็เป็นบทความที่ 4 ของผมแล้วนะครับ หากทุกคนยังพอได้เห็นบทความของผมผ่านตาบ้างบน ABACTODAY ในบทความนี้ผมจะมาแชร์เทคนิคต่าง ๆ และคำแนะนำแบบละเอียดว่าเตรียมตัวก่อนสอบและทำสอบยังไงให้ได้คะแนนดีครับ มาดูเทคนิคกันเลยดีกว่าค่ะ ช่วงก่อนสอบ เริ่มอ่านหนังสือแบบจริงจังอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนสอบ เพราะ 2 สัปดาห์ที่เหลือนี้ยังพอมีเวลาให้เราได้ทบทวนความเข้าใจกับเพื่อนว่าที่อ่านมานั้นเข้าใจถูกไหม ถ้าหากเข้าใจผิดหรือมีจุดที่ยังคาใจอ่านเองไม่รู้เรื่อง ก็ยังมีโอกาสให้กลับไปถามอาจารย์ในคาบ หรือไล่หาคลิปติวเตอร์ดูก็ยังทัน อีกทั้งเวลา 2 สัปดาห์จะทำให้เรารู้สึกว่ายังมีเวลานานพอสมควรก่อนสอบ…

Share this:

GS1001 : Thai Civil

Share this:

Midterm Summary ก่อนประวัติศาสตร์ของเมืองไทย ผู้อยู่อาศัยในยุคแรกและอารยธรรม Anthropologist – นักมานุษยวิทยา – studies about culture of mankind – ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ Archeologist- นักโบราณคดี – studies about the ancient civilization, rely on…

Share this:

ใครว่าเที่ยวเองยาก แค่ 3 Steps!

Share this:

วู้อากาศเริ่มหนาวกัน แล้วใช่ไหม หลายคนคงคิดที่จะเริ่มวางแผนว่า เอ๋! สอบเสร็จแล้วไปไหนดีน้า เผลอบางคนจองทริปไปตั้งแต่ ครึ่งปีแรกแล้วใช่ไหมเอย การที่วางแผนเที่ยวได้เนี่ยหลายๆคนคงนึกเบื่อการไปกับทัวร์ว่า โอ้ย! ไม่เห็นไปที่ต้องการเลย อยากตื่นสายกว่านี้ได้ไหม  ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเลย ถ้าเราแค่ เป็นคนจัดทริปทัวร์เองเลย จะเอาใครไปก็ได้ จะไปไหนก็ได้ จะกินที่ไหนก็เอาให้สะดวกเลย แต่คำถามต่อมา คือ อ้าวแล้วมันจะแพงกว่าการไปกับทัวร์ไหมเนี้ย ตอบได้เลยว่า  มันขึ้นอยู่ lifestyle แต่ละคนเลย  เอาหรูหราอลังการ…

Share this:

Responses