[BIR 3222] – Casualty Insurance
(สำหรับ Insurance Major & FinSurance Plan สำหรับ Finance Major)
วิชานี้เรียนอะไรบ้าง?
– เรียนพื้นฐานเกี่ยวกับประกันภัยเบ็ดเตล็ดโดยเน้นไปที่ประกันภัยที่ช่วยรับมือกับความรับผิดต่อบุคคลภายนอก การถูกฟ้อง การดำเนินคดีความ ซึ่งจะมีหลายชนิด เช่น ประกันภัยสินค้าไม่ปลอดภัย ประกันภัยทางวิชาชีพ ประกันความรับผิดของผู้บริหาร เป็นต้น เราจะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกมีอะไรบ้าง กฎหมายที่ทำให้เกิดความรับผิดได้ ลักษณะและองค์ประกอบของความรับผิด และหลักการพิจารณารับประกันภัยประเภทนี้แบบเบื้องต้น รวมไปถึงวิธีการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดความรับผิด
เนื้อหาที่เรียนเป็นยังไง?
ช่วงกลางภาค (Midterm)
– Lesson 1: Liability Introduction
– Lesson 2: Liability Loss Exposures
– Lesson 3: Liability Risk Control
– Lesson 4: Underwriting Principle and Procedure
ช่วงสอบปลายภาค (Final)
– Lesson 5: Public Liability
– Lesson 6: Products Liability
– Lesson 7: Workers Compensation and Employers Liability
– Lesson 8: Professionals Liability
– Lesson 9: Directors and Officers Liability
– Lesson 10: Cyber Liability
วิชานี้มีระดับความยาก-ง่ายขนาดไหน?
– ปานกลาง ถึง ยาก (ต้องจำคำศัพท์ใหม่มาก เนื้อหาเกี่ยวกับความรับผิดมีค่อนข้างเยอะ และต้องใช้เวลาทำความเข้าใจระดับนึง เนื่องจากมันเป็นหลักการทางกฎหมายกับหลักปฏิบัติทางวิชาชีพ ซึ่งเราอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน)
รูปแบบการเรียนเป็นยังไง?
– เรียนโดยแบ่งเป็น 2 คาบเรียน ซึ่งคาบแรกของสัปดาห์จะเรียนเป็นเลคเชอร์และเน้นทฤษฎี ส่วนคาบที่ 2 ของสัปดาห์จะเรียนเน้นไปทางกิจกรรมกลุ่ม และ discussion กันกับเพื่อนในห้อง
วิชานี้มีคำนวณ/การบ้าน/ทำรายงาน/พรีเซนต์/งานกลุ่ม/ควิซมั้ย?
– มีคำนวณบ้าง เช่น ถ้าเกิดความเสียหายในกรณีแบบนี้ขึ้น บริษัทประกันจ่ายไหมและจ่ายเท่าไร
– มีการบ้านบ้าง เช่น โจทย์ฝึกคำนวณเลข และค้นคว้าข้อมูลที่อาจารย์กำหนด (เทอมที่แล้วให้หาข้อมูลความรับผิดของโรงงานหมิงตี้ที่ระเบิดและสร้างความเดือดร้อนต่อคนที่อาศัยในระแวกนั้น)
– มีรายงานเป็น term project ทำเกี่ยวกับเนื้อหา เช่น เปรียบเทียบกรมธรรม์ประกันภัย ประเภทความรุนแรงทางการเมือง และมลพิษ เป็นต้น
– ต้องพรีเซนต์เป็น term project โดยมักเป็นงานกลุ่มถ้ามีคนเรียนหลายคนใน 1 เซค
– มีควิซในคาบบ้าง แต่ส่วนใหญ่แค่ตั้งใจสอบและทำส่งก็ได้คะแนนเต็มหรือเกือบเต็มแล้ว
รูปแบบข้อสอบเป็นยังไง?
– อัตนัยล้วนทั้งมิดเทอม ควิซ และไฟนอล
ควรเรียนกับอาจารย์ท่านไหน?
– มี A. Porntida ท่านเดียว
ความรู้สึกตอนเรียนเป็นยังไง?
– รู้สึกว่าเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เน้นจำคอนเซ็ปท์และจำนิยามให้เป๊ะ เพราะภาษาของกรมธรรม์ประเภทนี้คล้ายกับกฎหมายมันเลยดิ้นไม่ค่อยได้
– มิดเทอม: ปานกลางถึงยากเพราะโจทย์หลายข้อเป็น scenario และเน้นถามนิยาม เราต้องตอบให้ครบทุกองค์ประกอบใน 1 นิยาม
– ไฟนอล: ยากขึ้นกว่ามิดเทอมอีก เพราะข้อสอบแทบทุกข้อเป็นแบบประยุกต์เข้ากับ scenario ที่ยกขึ้นมาซึ่งอาจารย์ไม่เคยสอนมาก่อน เพื่อทดสอบว่าเราอ่านแล้วเข้าใจจริงไหม และสามารถพลิกแพลงเป็นหรือไม่
เรียนวิชานี้ยังไงให้ “A” ?
– เวลาอ่านคำนิยามเตรียมสอบ พยายามแยกองค์ประกอบว่าในนิยามนี้มีสาระสำคัญกี่ข้อ และเราต้องจำให้หมดเพื่อเอาไปตอบข้อสอบให้ได้คะแนนเต็มใน part นิยาม
– อาจารย์มี preference ในการที่นักศึกษาเขียนตอบข้อสอบ ซึ่งคือให้ตอบแบบ intro, body, conclusion รวมกันใน 1 paragraph สั้น ๆ
– เขียนตอบให้ละเอียด และตรงจุด พยายามยกตัวอย่างให้อาจารย์ได้ยิ่งดี เพื่อแสดงให้อาจารย์เห็นว่าเราเข้าใจเนื้อหาจริง ๆ
– นิยามตัวไหนที่มันยาก ๆ และชวนงง ควรต้องถามอาจารย์ห้ามปล่อยผ่านเด็ดขาด เพราะบางทีอาจารย์จะเอาเนื้อหาตรงที่มันยากและท้าทายสำหรับนักศึกษา เอาไปออกสอบ
– พยายามใช้คำศัพท์เฉพาะที่อาจารย์สอน เพื่อแสดงให้อาจารย์เห็นว่าเราพยายามที่จะจำคำศัพท์ และเข้าใจเนื้อหา
Cr. neirdo